วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หอสมุดกลางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง






ขอมูลเกี่ยวกับสํานักหอสมุดกลาง

ชื่อสวนงานสํานักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง
ที่ตั้งอาคารเฉลิมพระเกียรติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทรศัพท 0 2329 8233
โทรสาร 0 2329 8236
www.lib.kmitl.ac.th

ประวัติความเปนมา
 สํานักหอสมุดกลางเปนสวนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสวนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ.2534 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลม 108 ตอนที่ 94 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2534 โดยมีประวัติความเปนมา ดังนี้

พ.ศ. 2520
เริ่มบรรจุขาราชการเพื่อดําเนินการหองสมุด จํานวน 2 อัตรา  โดยฝากไวที่หองสมุดคณะวิศวกรรมศาสตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลา วิทยาเขตเจาคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2523
เริ่มดําเนินการโครงการสํานักหอสมุดกลาง โดยใหบริการรวมกับหองสมุดคณะครุศาสตรอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร ณ อาคารชั่วคราว คณะครุศาสตรอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาวิทยาเขตเจาคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. 2525
แยกตัวโครงการสํานักหอสมุดกลาง ออกจากหองสมุดคณะครุศาสตรอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร โดยเปดใหบริการแกนักคึกษาอาจารยและขาราชการของสถาบัน ณชั้น 2 อาคารโรงอาหารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาวิทยาเขตเจาคุณทหารลาดกระบัง (โรงอาหารอาคารกิจกรรมนักศึกษาในปจจุบัน)
พ.ศ. 2529
ไดรับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ใหมีฐานะเปนกองหองสมุด ในสํานักงานอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง และยายที่ทําการไปอยูณ หองรักษาเอกสาร อาคารศูนยเรียนรวมสมเด็จพระเทพฯ เปดใหบริการแกนักศึกษา อาจารย ขาราชการ และเจาหนาท ี่ของสถาบัน ตลอดจนบุคคลภายนอกดวย
พ.ศ. 2531
ไดรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีใหกําหนดฐานะเปนสํานักหอสมุดกลาง
พ.ศ. 2534
ไดรับการจัดตั้งเปนสํานักหอสมุดกลาง ซึ่งเปนสวนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2534 ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสวนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2534 และแบงสวนราชการเปน 6 สวนงาน คือสํานักงานผูอํานวยการ ฝายบริการ ฝายประสานงานหองสมุดคณะ ฝายพัฒนาทรัพยากรหองสมุด ฝายวิเคราะหทรัพยากรหองสมุด และฝายโสตทัศนศึกษา ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบงสวนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2534 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลม 108 ตอนที่ 108 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2534
พ.ศ. 2539
ยายที่ทําการสํานักหอสมุดกลาง จากหองรักษาเอกสาร อาคารศูนยเรียนรวมสมเด็จพระเทพฯ มาอยู ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2539
พ.ศ. 2540
เปดใหบริการ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2540
พ.ศ. 2542
สถาบันตัดโอนงานหองสมุดคณะ ฝายประสานงานหองสมุดคณะ ไปสังกัดงานหองสมุด สํานักงานคณบดี 5 คณะไดแก คณะวิศวกรรมศาสตร คณะสถาปตยกรรมศาสตร คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร และคณะเทคโนโลยีการเกษตร ตามคําสั่งสถาบัน ที่ 1574/2542 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2542
พ.ศ. 2543
สถาบันไดปรับปรุงการจัดแบงสวนงานในสํานักหอสมุดกลาง เปน 8 สวนงาน คือ สํานักงานผูอํานวยการฝายบริการสารนิเทศ ฝายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ฝายวิเคราะหทรัพยากรสารนิเทศ ฝายโสตทัศนศึกษา ฝายเทคโนโลยีสารนิเทศ ฝายวารสารและเอกสารและฝายหอจดหมายเหตุพระจอมเกลา ตามคําสั่งสถาบัน ที่ 1158/2543
ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543
พ.ศ. 2548
สถาบันไดปรับปรุงโครงสรางสํานักหอสมุดกลางใหม โดยโอนบรรดากิจการ ภารกิจ อํานาจหนาที่ และความรับผิดชอบของงานหองสมุดในสํานักงานคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร คณะสถาปตยกรรมศาสตร คณะครุศาสตรอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานหองสมุด วิทยาเขตชุมพร ไปสังกัดสํานักหอสมุดกลาง ตามคําสั่งสถาบัน ที่ 1744/2548 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2548 และปรับปรุงการจัดแบงสวนงานในสํานักหอสมุดกลาง เปน 15 สวนงาน คือ สํานักงานผูอํานวยการ ฝายบริการสารนิเทศฝายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ฝายวิเคราะหทรัพยากรสารนิเทศ ฝายโสตทัศนศึกษา ฝายเทคโนโลยีสารนิเทศ ฝายวารสารและเอกสาร ฝายหอจดหมายเหตุพระจอมเกลา ฝายหองสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร ฝายหองสมุดคณะ
สถาปตยกรรมศาสตร ฝายหองสมุดคณะครุศาสตรอุตสาหกรรม ฝายหองสมุดคณะวิทยาศาสตร ฝายหองสมุดคณะเทคโนโลยีการเกษตร ฝายหองสมุดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝายหองสมุดวิทยาเขตชุมพร ตามคําสั่งสถาบัน ที่ 1745/2548 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2548
พ.ศ. 2550
สถาบันไดกําหนดใหงานหองสมุดและสื่อการศึกษา วิทยาเขตชุมพร สังกัดอยูในสํานักงานวิทยบริการ วิทยาเขตชุมพร ตามประกาศสถาบัน ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2550 เรื่องแบงสวนงานวิทยาเขตชุมพรสงผลใหสํานักหอสมุดกลางแบงสวนงาน เปน 14 สวนงาน โดยยุบเลิกฝายหองสมุดวิทยาเขตชุมพร
พ.ศ. 2551
สถาบันไดปรับเปลี่ยนเปนมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐและจัดแบงหนวยงานภายในสํานักหอสมุดกลาง เปน 4 หนวยงาน คือ สวนบริหารงานทั่วไป งานเทคนิค งานบริการสารนิเทศ และงานเทคโนโลยีสารนิเทศ ตามประกาศสถาบัน ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2551
พ.ศ. 2552
สถาบันไดยุบเลิกสวนบริหารงานทั่วไป ของสํานักหอสมุดกลาง ตามประกาศสถาบัน ลงวันที่ 26 มกราคม 2552 สงผลใหสํานักหอสมุดกลางแบงเปน 3 หนวยงาน คืองานเทคนิค งานบริการสารนิเทศ และงานเทคโนโลยีสารนิเทศ

ดอกไมประจําสํานัก คือ ดอกหางนกยูง
สีประจําสํานัก คือ สีเทา

วัตถุประสงค์
    สํานักหอสมุดกลาง เปนหนวยงานที่จัดตั้งข้ึนเพื่อใหสอดคลองกับวัตถุประสงคของสถาบัน ที่เนนการใหการศึกษา การคนควาวิจัย และการพัฒนาดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีโดยมีวัตถุประสงค ดังนี้
 1. เปนแหลงรวบรวม บํารุงรักษา และเผยแพรหนังสอื วารสาร สิ่งพิมพ ฐานขอมูล โสตทัศนวัสดุ ทั้ง
ภาษาไทยและภาษาตางประเทศ และเอกสารอางอิงทางประวัติศาสตรเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว
 2. สงเสริมและสนับสนุนการใหบริการหองสมุดเกี่ยวกับการเรียนการสอน และการคนควาวิจัย โดย
ใหบริการยืมและแลกเปลี่ยนสื่อตางๆ และบริการสืบคนขอมูลดวยคอมพิวเตอร
 3. เปนศูนยกลางการใหบริการหองสมุดของสถาบัน โดยเปดใหบริการแกนักศึกษา อาจารย ขาราชการพนักงาน และเจาหนาที่ของสถาบัน ตลอดจนบุคคลและหนวยงานภายนอกวัตถุประสงค

ปณิธาน : สํานักหอสมุดกลางมุงมั่นในการใหบริการหองสมุดที่มีคุณภาพ เพื่อการศึกษา
การวิจัย และการเรียนรูโดยยึดความตองการของผูใชบริการเปนหลัก

วิสัยทัศน์ : สํานักหอสมุดกลางเปนศูนยกลางในการใหบริการหองสมุด ดวยทรัพยากรที่มีคุณคา ทันสมัย ไดมาตรฐานและตรงตามความตองการของผูใชบริการ

คําขวัญ : มุงเนนคุณคา พัฒนากาวไกล เทคโนโลยีทันสมัย มั่นใจในบริการ

พันธกิจ
ดานการบริการ
1. บริการทางวิชาการดวยทรัพยากรที่มีคุณคา ไดสัดสวนตามมาตรฐานหองสมุดสถาบันอุดมศึกษา และตรงตาม
ความตองการของผูใชบริการ
2. บริการทางวิชาการที่ถูกตอง สะดวก และรวดเร็ว ดวยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
3. มีความรวมมือในการบริการและการใชทรัพยากรรวมกันกับกลุมหองสมุดสถาบันอุดมศึกษาและหนวยงานอื่น
4. สงเสริมและสนับสนุนการใหบริการแกชุมชนและบุคคลภายนอก
ดานการพัฒนาบุคลากร
1. สงเสริมและสนับสนุนใหบุคลากรศึกษาตอทั้งในและตางประเทศ
2. สงเสริมและสนับสนุนใหบุคลากรเขารวมประชุม อบรม สัมมนา หรือศึกษาดูงานท้ังในและตางประเทศ
3. สงเสริมและสนับสนุนใหบุคลากรทําวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการ
4. สงเสริมใหบุคลากรมีจิตสํานึกในการใหบริการที่ดี
ดานการบริหารจัดการ
1. พัฒนาระบบการบริหารตามหลักการบริหารจัดการที่ดี
2. สนับสนุนการทํางานเปนทีม การมีสวนรวม และความสัมพันธอันดีของบุคลากร
3. บริหารสํานักหอสมุดกลางใหมีบรรยากาศทางวิชาการและการปฏิบัติงาน
ดานเทคโนโลยี
1. สงเสริมและสนับสนุนการใชเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการใหบริการ เพื่อสนองความตองการของผูใชในสังคมแหงการเรียนรู
2. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการบริการและบริหารจัดการอยางเพียงพอและตอเนื่อง
3. พัฒนาเทคโนโลยีสารนิเทศใหมีความพรอมทั้งดานระบบฐานขอมูลเครื่องคอมพิวเตอรและเทคโนโลยีการสื่อสารใหมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใหบริการ

รายชื่อผู้บริหาร
 1. อาจารยกษมพงศ พงษชมพร ผูอํานวยการ
 2. อาจารยประสาร  ตังติสานนท รองผูอํานวยการ
 3. อาจารยพงษเกียรติเชษฐพิทักษสกุล รองผูอํานวยการ

การแบงหนวยงาน
สํานักหอสมุดกลาง จัดแบงหนวยงานเปน 3 งาน ประกอบดวย
1. งานเทคนิค
2. งานบริการสารนิเทศ
3. งานเทคโนโลยีสารนิเทศ

ภาระงานที่รับผิดชอบ
รองผูอํานวยการสถาบันฯ ไดกําหนดหนาที่และความรับผิดชอบของงานตางๆ ดังนี้
1. งานเทคนิค
มีหนาที่และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานดานตาง ๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกและการจัดหา
ทรัพยากรสารนิเทศ การวิเคราะหทรัพยากรสารนิเทศ การดูแลฐานขอมูล การจัดเตรียมทรัพยากรสารนิเทศสําหรับใหบริการ การเย็บเลมและซอมบํารุงหนังสือและสารนิเทศ และงานอื่น ๆ ที่ไดรับมอบหมาย
2. งานบริการสารนิเทศ
มีหนาที่และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตาง ๆ ในอาคารเฉลิมพระเกียรติและหองสมุดคณะเกี่ยวกับการจัดใหบริการทรัพยากรสารนิเทศ การใหบริการยืม - คืนทรัพยากรสารนิเทศ การใหคําแนะนําและสืบคนสารนิเทศ การบริการยืมสารนิเทศระหวางหองสมุด การจัดใหบริการและกิจกรรมสงเสริมการใชหองสมุด การจัดเก็บและรวบรวมขอมูลการใชบริการหองสมุด ยกเวนอาคารเฉลิมพระเกียรติใหบริการโสตทัศนูปกรณและการผลิตสื่อทางการศึกษา และทรัพยากรสารนิเทศที่มีความเกี่ยวของกับพระบาทสมเด็จ พระจอมเกลาเจาอยูหัว พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวในรัชกาลปจจุบันและเอกสารจดหมายเหตุของสถาบัน และงานอื่น ๆ ที่ไดรับมอบหมาย
3. งานเทคโนโลยีสารนิเทศ
มีหนาที่และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตาง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบหองสมุดอัตโนมัติการพัฒนาระบบ
เทคโนโลยีสารนิเทศ ดูแลระบบเครือขายคอมพิวเตอรภายในสํานักหอสมุดกลาง การซอมบํารุง
คอมพิวเตอร และการฝกอบรมคอมพิวเตอรของสํานักหอสมุดกลาง และงานอื่น ๆ ที่ไดรับมอบหมาย

การบริการต่างๆของหอสมุดกลางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  • เวลาเปิดให้บริการทุกห้องสมุด

เวลาเปิดให้บริการ (ตามปกติ)
จ. - ศ. เวลา 08.30 - 20.30 น.
ส. - อา. เวลา 08.30 - 16.30 น.
ปิด ให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศของสำนักหอสมุดกลาง
เบอร์โทรศัพท์ติดต่องานบริการ
สายนอก 02 - 3298231
สายใน 02 -3298000
ต่อ 5082, 5084, 5079





  • สมาชิกห้องสมุด

นักศึกษาใหม่ / อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จะเป็นสมาชิกห้องสมุดสำนักหอสมุดกลางอาคารเฉลิมพระเกียรติ และห้องสมุดคณะทุกคณะ โดยอัตโนมัติ
กรณีนักศึกษา ใหม่ที่ยังไม่ได้รับบัตรนักศึกษา
ให้ใช้ใบ เสร็จลงทะเบียนเรียน หรือเอกสารอื่นที่แสดงว่าลงทะเบียนเรียนคู่กับบัตรประชาชน
ในการ ยืม - คืนหนังสือ สื่อโสตฯ และวารสารได้
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติม
สอบ ถามได้ที่งานบริการสารนิเทศ
เบอร์ โทรศัพท์สายตรง 02 - 3298231
เบอร์ โทรศัพท์สายใน   02 - 3298000 ต่อ 5082, 5084, 5079


  • สืบค้นนอกสถาบัน (VPN)




  • บริการยืมทรัพยากรสารนิเทศ



  • ยืมระหว่างห้องสมุด

ยืมหนังสือห้องสมุดต่างคณะ ภายในสถาบันฯ
สามารถใช้บริการ Delivery Service หรือบัตรสมาชิกยืมหนังสือที่ Counter 1-stop-service
ในคณะต่าง ๆ ได้ โดยใช้ระเบียบเดียวกับสำนักหอสมุดกลาง ถ้าต้องการยืมหนังสือต่างสถาบันฯ/มหาวิทยาลัย ติดต่อ ใช้บริการได้ที่ชั้น 1 เคาน์เตอร์ยืม-คืน งานบริการยืมระหว่างห้องสมุด งานบริการสารนิเทศ สำนักหอสมุดกลาง สจล. หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณศรีไพร เกษดี เบอร์ภายใน 5079


  • บรรณารักษ์ตอบคำถามช่วยค้นคว้า



  • บริการรับ-ส่งทรัพยากรสารนิเทศ

บริการรับ - ส่งหนังสือ / บทความ / วารสาร / โสตทัศนวัสดุ
ส่งตามห้องสมุดอาคารเฉลิมพระเกียรติ / ห้องสมุดคณะฯต่างๆ ในสังกัดสำนักหอสมุดกลาง
สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
( IE Only! :: ใช้งานได้กับบราว์เซอร์ Internet Explorer เท่านั้น!)

        สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เปิดให้บริการรับ - ส่งหนังสือ / บทความ / วารสาร / โสตทัศนวัสดุ ส่งตามห้องสมุดอาคารเฉลิมพระเกียรติห้องสมุดคณะฯต่างๆ ในสังกัดสำนักหอสมุดกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการยืม - คืนหนังสือ / บทความ / วารสาร / โสตทัศนวัสดุ และขยายการให้บริการห้องสมุดในเชิงรุกให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา
คำจำกัดความ
การบริการรับ - ส่งหนังสือ / บทความ / วารสาร / โสตทัศนวัสดุ (Delivery Service) หมายถึง การบริการรับ - ส่งหนังสือ / บทความ / วารสาร/โสตทัศนวัสดุ ถึงสมาชิกห้องสมุดตามคำขอยืม
สถานที่ที่ให้บริการ มี 3 จุด คือ
1.อาคารเฉลิมพระเกียรติ สำนักหอสมุดกลาง
2.ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
3.งานสารบรรณ คณะวิทยาศาสตร์
ผู้มีสิทธิใช้บริการรับ - ส่งหนังสือ / บทความ / วารสาร / โสตทัศนวัสดุ
ได้แก่ สมาชิกห้องสมุดประเภท นักศึกษาปริญญาโท, นักศึกษาปริญญาเอก, อาจารย์ประจำ, อาจารย์พิเศษ, ข้าราชการ, พนักงาน, ลูกจ้างสถาบันฯ และเจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ
ทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุดที่ให้บริการรับ - ส่งหนังสือ / บทความ / วารสาร / โสตทัศนวัสดุถึงผู้ยืม
- หนังสือทั่วไป
- บริการจัดส่งบทความวารสารและบทความจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักหอสมุดกลางบอกรับภายในสถาบันฯ (ใหม่!)
- วารสารฉบับย้อนหลัง
- โสตทัศนวัสดุ ประกอบด้วย วีดีทัศน์ / เทปบันทึกเสียง / ซีดีมัลติมีเดีย / แผ่นซีดี - รอม และดิสเกตต์ที่มากับหนังสือ - วารสาร และคู่มือที่มากับวีดีทัศน์ / เทปบันทึกเสียง / ซีดีมัลติมีเดีย
การขอรับบริการ
- กรอกแบบฟอร์มขอรับบริการผ่านเว็บไซต์ Delivery Service ของสำนักหอสมุดกลาง
- ขอรับบริการผ่านเคาน์เตอร์บริการห้องสมุด
วันเวลาในการให้บริการ
- รอพิจารณาวันละ 1 รอบ วันจันทร์ - วันศุกร์ (ช่วงเช้า) เวลา 10.00 - 12.00 น.
หมายเหตุ : ผู้ใช้บริการติดต่อรับทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด ตามคำขอภายใน 3 วัน หลังจากเจ้าหน้าที่ติดต่อให้มารับ หากพ้นกำหนดถือว่ายกเลิกรายการยืม
และหากทรัพยากรสารนิเทศที่ต้องการยืม มีสถานภาพถูกยืมอยู่ (DUE วัน-เดือน-ปี) ห้องสมุดจะดำเนินการจองตัวเล่มและจัดส่งให้ตามวันที่มีการคืนต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานบริการรับ-ส่งทรัพยากรสารนิเทศ
หมายเลขโทรศัพท์ (ภายใน) : (02)-329-8000 ต่อ 5079, 5105 - 6
หมายเลขโทรศัพท์ (ภายนอก) : (02)-329-8231
มือถือ : 087-9866632
E-mail : kypornth@kmitl.ac.th , kpanchal@kmitl.ac.th


  • อบรมการใช้งานฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้น


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.lib.kmitl.ac.th/central/

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

งานบริการห้องสมุด






 ความหมายของงานบริการห้องสมุด 

           งานบริการห้องสมุด คืองานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการมากที่สุด รวมถึงการจัดบรรยากาศที่ดี เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจเมื่อเข้าใช้บริการ


ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด

          งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ห้องสมุดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี



วัตถุประสงค์ของการให้บริการห้องสมุด

          1. เพื่อส่งเสริมการอ่าน
          2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
          3. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่า
          4. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเพลิดเพลิน พัฒนาสมองให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถนำสิ่งที่ได้จากการอ่านไปปฏิบัติ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตนต้องการ



ประเภทของงานบริการห้องสมุด

          งานบริการของห้องสมุดมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับนโยบายและวัตถุประสงค์ของห้องสมุด สำหรับห้องสมุดโรงเรียนโดยทั่วไป มีดังนี้

          1. บริการการอ่าน   เป็นบริการหลักของห้องสมุดที่จัดหาและคัดเลือกหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ มาไว้เพื่อให้บริการ และจัดเตรียมสถานที่ให้อำนวยความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อตอบสนองความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้มากที่สุด

          2.บริการยืม - คืน   คือบริการให้ยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ตามระเบียบการยืมของห้องสมุดแต่ละแห่ง เพื่อให้ความสะดวกในการใช้ ในกรณีที่ยืมเกินกำหนด ผู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับตามอัตราที่ห้องสมุดกำหนด

          3.บริการหนังสือจอง   เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดแยกหนังสือรายวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนกำหนดให้นักเรียนอ่านประกอบ รวมทั้งเป็นบริการพิเศษที่จัดขึ้นในกรณีที่หนังสือนั้นมีจำนวนน้อย แต่มีผู้ใช้ต้องการจำนวนมาก โดยแยกไว้ต่างหาก และมีกำหนดระยะเวลาให้ยืมสั้นกว่าหนังสือทั่วไป

          4.บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด   เป็นบริการเพื่อแนะนำผู้ใช้ให้ทราบว่า ห้องสมุดจัดบริการอะไรบ้างให้กับผู้ใช้ เช่น การปฐมนิเทศแนะนำแก่นักเรียนที่เข้าเรียนในชั้นปีแรก ห้องสมุดส่วนใหญ่จะจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด เช่น ประวัติของห้องสมุด ระเบียบการยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศ มารยาทในการใช้ห้องสมุด บริการและกิจกรรมต่างๆของห้องสมุด เป็นต้น

          5. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   เป็นบริการที่ครูบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จะช่วยให้คำแนะนำและบริการตอบคำถามแก่นักเรียนและผู้ใช้ ทั้งคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด และคำถามที่ต้องค้นหาคำตอบจากทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด

          6. บริการแนะแนวการอ่าน  เป็นบริการสำคัญที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่าน พัฒนานิสัยรักการอ่าน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุดที่มีปัญหาในการอ่าน ผู้ที่ไม่อยากอ่านหนังสือ หรือเลือกหนังสืออ่านไม่เหมาะสมกับความต้องการของตน

          7. บริการสอนการใช้ห้องสมุด  เป็นบริการของห้องสมุดในโรงเรียนที่จัดสอนให้แก่นักเรียนที่เข้าเรียนใหม่ในชั้นปีแรก เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท และบริการต่างๆ ของห้องสมุด ให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากห้องสมุดได้อย่างเต็มที่

          8. บริการสืบค้นฐานข้อมูล  เป็นบริการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือของห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ สามารถค้นหาหนังสือด้วยตนเองได้สะดวก รวดเร็วขึ้น

          9. บริการรวบรวมบรรณานุกรม  เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ สำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอน ในรายวิชาต่างๆ รวมถึงการรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือใหม่ประจำเดือนที่ห้องสมุดออกให้บริการแก่ผู้ใช้

          10. บริการข่าวสารทันสมัย  เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข้อมูลใหม่ๆ ในสาขาวิชาต่างๆ โดยการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับล่าสุดที่ห้องสมุดได้รับรวบรวมไว้ในแฟ้ม เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

          11. บริการอินเทอร์เน็ต  ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่สนใจได้ทั่วโลก ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ทันสมัยได้มากขึ้น ตรงตามความต้องการและสะดวกรวดเร็ว

          12. บริการอื่นๆ  ที่ห้องสมุดอาจจัดขึ้น เช่น บริการโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ บริการชุมชน บริการขอใช้สถานที่ประชุม เป็นต้น

             12.1 บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการค้นคว้าหาความรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น สื่อมัลติมีเดีย ซีดีรอม ดีวีดี วีซีดี เป็นต้น
             12.2 บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นบริการการอ่านที่ห้องสมุดจัดไว้ตามมุมต่างๆของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น ใต้บันได ระเบียงอาคาร สวน ศาลา ฯลฯ เป็นการให้บริการอย่างไม่เป็นทางการ ง่ายๆ และตกแต่งด้วยธรรมชาติอย่างสวยงาม ตามสภาพของสถานที่นั้นๆ
             12.3 บริการชุมชน เป็นบริการที่ขยายโอกาสทางการศึกษาค้นคว้าให้กว้างออกไป โดยห้องสมุดจะจัดหนังสือและสิ่งพิมพ์ ไปให้บริการแก่ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ รอบโรงเรียน เช่น ที่วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จุดบริการจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็ก และประชาชนในชุมชนทุกเพศ ทุกวัย เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ข่าวสาร และทันต่อเหตุการณ์
             12.4 บริการขอใช้สถานที่ประชุม เป็นบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ฝ่ายบริหาร และครู-อาจารย์ ในการขอใช้ห้องสมุดเพื่อประชุมเฉพาะกลุ่มของโรงเรียน


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.nmk.ac.th/maliwan2/page/6servicesource.html